ศูนย์ขยายงานรับประกันภัยตะกาฟุล / 02-239-2200 ต่อ 1223 , 2163 , 2860
มิติใหม่ของธุรกิจประกันวินาศภัย โดยบริษัทที่มีประสบการณ์ในการรับประกันภัยมายาวนาน และมีความมั่นคงทันสมัยพร้อมให้บริการที่เป็นเลิศ ภายใต้การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และการกำกับดูแลที่ดี
การประกันภัยตามหลักศาสนาอิสลาม หรือ ตะกาฟุล (Takaful) เป็นการประกันภัยที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้านการประกันภัย โดยยึดหลักและวิธีปฏิบัติตามบัญญัติของศาสนาอิสลาม
คณะกรรมการชารีอะฮ์ (คณะกรรมการศาสนา)
ผศ.ดร มะรอนิง สาแลมิง (ประธานกรรมการ)
ดร.กูมัจดี ยามิรูเด็ง (รองประธานกรรมการ)
ว่าที่ รต. ดร. อับดุลฮาฟิซ หิเล (กรรมการ)
ดร.อณัส อมาตยกุล (กรรมการ)
คุณไพศาล พรหมยงค์ (กรรมการ)
คุณอนุสรณ์ องอาจ (กรรมการ และเลขาคณะฯ)
การประกันภัยตามหลักศาสนาอิสลามแตกต่างจากประกันภัยปกติอย่างไร ?
การประกันภัยแบบตะกาฟุลอยู่บนหลักการของการช่วยเหลือเกื้อกูล ซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิก โดยสมาชิกในกลุ่มทุกคนตกลงร่วมกันบริจาคเงินในรูปของเงินสมทบประกันภัย เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่สมาชิกคนใดคนหนึ่ง ในกรณีที่ได้รับความเสียหายต่อทรัพย์สิน ตามขอบเขตที่ได้มีการตกลงไว้ภายใต้การประกันภัยนอกจากนี้บริษัทฯ ยังจะนำเงินสำรองประกันภัยที่คำนวณจากเงินสนับสนุนของผู้ที่เข้าร่วมโครงการตามระเบียบของกรมการประกันภัย ไปบริหารจัดการให้เกิดผลกำไรตามหลักศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้บริษัทฯ จะดำเนินการจ่ายซะกาต ตามหลักการของศาสนา และเมื่อมีผลกำไรจากการบริหาร บริษัทฯ จะแบ่งกำไรดังกล่าวคืนกลับให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
บริหารงาน 2 ระบบในบริษัทเดียวกัน
บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)เป็นบริษัทประกันวินาศภัยแห่งแรกและแห่งเดียวที่ได้ดำเนินนโยบายธุรกิจในลักษณะ 1 บริษัท 2 ระบบ คือ ระบบประกันวินาศภัยทั่วไป และ ระบบประกันภัยแบบอิสลามหรือ ตะกาฟุล "Takaful" ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการชะรีอะฮ์ (Shariah Advisory Board) โดยทำการแยกบริหารงานทั้งในแง่ของการบริหารจัดการภายใน และการให้บริการลูกค้าของทั้ง 2 ระบบ ออกจากกันอย่างชัดเจน
กรมธรรม์ "ทิพยตะกาฟุล"
บริษัทฯ ได้ออกแบบและพัฒนากรมธรรม์ "ทิพยตะกาฟุล" โดยได้รับการอนุมัติจากกรมการประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ ออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ :-
การชำระเงินสมทบประกันภัย
บริษัทจะทำการเปิดบัญชีประกันภัยตามหลักศาสนาอิสลามไว้กับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถชำระเงินสมทบประกันภัยได้ โดยโอนเงินเข้าบัญชีดังกล่าว
การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
บริษัทฯ จะนำเงินจากกองทุนที่ผู้เข้าร่วมโครงการได้ชำระเงินสมทบประกันภัยเข้ามาในบัญชีดังกล่าวข้างต้น มาใช้ในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับทรัพย์สินของผู้เข้าร่วมโครงการที่ได้รับความเสียหาย